=========
บุญ มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า "ปุญญะ" ความหมายหลักคือ เครื่องชำระใจให้สะอาด
ได้แก่ การทำความดี ด้วยเจตนาที่เป็นกุศล
(การทำความดี คือ การกระทำที่ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น)
*เมื่อทำแล้ว "จิตขาวสะอาด" จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า "บุญ"
ที่มาของภาพ: บุญกิริยาวัตถุ ๓ โดยพระอาจารย์ภาสกร
ทำบุญอย่างไรให้มีอานิสงส์มาก
====================
ในทานมหัปผลสูตร อังคุตตรนิกาย พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า
ทานที่ "ไม่" มีอานิสงส์มาก ได้แก่
- ทานที่ให้อย่างมีใจเยื่อใย
(เช่น การมุ่งหวังให้ผู้คนรับรู้ว่า ทานนั้นๆ ฉันเป็นคนถวาย มีชื่อผู้บริจาคเขียนติดบนทานนั้นๆ)
- ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ
# ก่อนให้ทาน
ที่โบราณสอน ให้ยกของขึ้นจบ นั้นเพื่อให้ตั้งใจ (วางเจตนา) ให้ตรงก่อน เช่น
มีจิตคิดจะให้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
เช่น บริจาคเงินรักษา พระสงฆ์ (ซึ่งการถือเพศบรรพชิตไม่เอื้อในการเก็บสะสมทรัพย์)
ให้หายเจ็บป่วยทางกาย มีชีวิตอยู่เพื่อสืบเชื้อสายสมณวงศ์ ต่อไป
หรือ ตักบาตรเพื่อเกื้อหนุนให้ท่านดำรงสมณเพศต่อไปได้
(ถ้าทำทานเพื่ออยากได้นู่นได้นี่ เช่น ขอให้รวย ขอให้ถูกหวย
ตั้งใจทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
ยิ่งทำก็็ยิ่งโลภ, สิ่งที่ทำนั้น ก็นับว่าห่างไกลจาก "ทาน-การให้" มากนัก)
*เป็นประโยชน์ จำเป็นต่อผู้รับ ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ตามแผนภาพ
เช่น บริจาคเงินสร้างอาคารเรียน ตามต่างจังหวัด
น่าจะเป็นประโยชน์ มีความจำเป็น มากกว่า สร้างโบสถ์ให้สวยงดงาม
ในครั้งพุทธกาล มีเณรน้อยรูปหนึ่งในปกครองของพระสารีบุตร
มีวิบากกรรมที่ทำให้จะต้องตายในอีก 7 วัน
วันหนึ่งที่ร้อนจัด ในระหว่างที่เณรนั้น เดินทางกลับจากการบิณฑบาตร
เจอแอ่งน้ำที่กำลังจะแห้งขอด ซึ่งมีปลาอยู่หลายตัว
ถ้าปล่อยไว้ ปลาเหล่านั้นคงต้องตายแน่
เณรน้อยจึงได้ช่วยย้ายปลาเหล่านั้น
ด้วยความสงสารและจิตใจที่มีเมตตา
ไปยังอีกหนองน้ำหนึ่งซึ่งยังมีน้ำมากอยู่
อานิสงส์การกระทำ ของเณรที่ทำด้วยใจเอื้อเฟื้อนั้น
ทำให้เณรอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี
หรือ ถ้าพระสงฆ์ที่มีอาหารอยู่เต็มบาตร เต็มย่ามอยู่แล้ว, เราก็ยังขอตักบาตร
ก็น่าจะพิจารณาได้ว่า ไม่เป็นที่จำเป็นต่อผู้รับ
แต่ถ้าเอาข้าวและกับข้าวที่จะใส่บาตรในบริมาณที่เท่ากัน เอาไปให้เด็กด้อยโอกาส ให้เด็กมีข้าวกิน
เด็กเหล่านั้น ก็จะได้มีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ หรือเป็นเงินสมทบทุนให้โอกาสในการศึกษา
น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับมากกว่า
# ขณะให้ทาน
(ตามรูป) ก็ให้ทานอย่างมีสติ มีเจตนาที่เป็นกุศล ไม่ใช่คิดเรื่องอื่นอยู่
(เช่น ตักข้าว 3 ทัพพี เป็นอุบายให้ตักบาตรอย่างมีสติ
แต่สร้างความลำบากให้กับพระจำนวนมากเช่นกัน)
# หลังจากให้ทาน
- ต้องไม่คิด เสียดายทาน ที่ คิดอยากได้คืน
- (ไม่อธิษฐาน ก็ได้อานิสงส์อยู่แล้ว
แต่รูปแบบการส่งผล ว่าจะส่งผลอย่างไร อาจจะไม่ตรงกับที่ต้องการ
เช่น อาจจะส่งผลชาตินี้ ที่ร่ำรวย พอกินพอใช้อยู่แล้ว
ซึ่งเราอยากให้เป็นเสบียงส่งผลชาติหน้าแทน เป็นต้น)
- อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล (ระบุว่าให้ใครมีส่วนได้รับผลบุญนั้น)
# ทำสิ่งใด ก็จะได้สิ่งนั้นตอบแทน
ผลบุญ จะสะท้อนกลับมายังผู้ทำบุญ ในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับบุญที่ทำ
บางคนถวายเทียนพรรษา เพื่อจะเป็นดวงตาเห็นธรรม
อย่างนี้เรียกว่า "สร้างเหตุไม่ตรง"
อยากมีดวงตาเห็นธรรม ต้องหมั่นศึกษา เช่น อ่าน หรือ ฟังธรรม
อยากมีเงินทอง ต้องเลือกอาชีพที่เหมาะสม, ขยันทำมาหากิน อย่างซื่อสัตย์
ผลบุญที่เคยทำมาจึงจะมีโอกาสส่งผล ให้ลูกค้าเยอะ
การทำบุญโดยการให้ชีวิต (เช่น บริจาคเลือด) ก็จะได้รับชีวิต
(เช่น แทนที่จะถึงฆาต รอดตาย ก็มีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่)
(แต่ไม่รู้จะส่งผลชาติไหน)
*ผู้ที่เสียเลือดจะต้องรับเลือดทดแทน จะใช้ของเหลวชนิดอื่นแทนไม่ได้
อานิสงส์ของการ"ให้" (ทาน) จะได้ "รับ"
อานิสงส์ของการรักษาศีล ๕ จะได้อัตตภาพของความเป็นมนุษย์
(ศีล ๕ คือ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์)
ถ้าหมั่นทำทาน อย่างเดียวแล้วไม่รักษาศีล ๕ ก็จะไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์ เช่น
เปรต ที่มีเครื่องแต่งกายสวยงาม
หรือ เดรัชฉานมีฐานะ (เช่น หมาที่เจ้าของฝากเงินให้เป็น 10ล้านบาท)
# ธรรมทาน
=========
ฟังธรรม เป็นการให้ธรรมะเป็นทาน แก่ตัวเอง
ถ้ากิเลสโมหะ (หรือความหลง) ลดลง แสดงว่า เป็น “ธรรมทาน”
(พึงระวัง การฟังเทศน์จาก"โจรในคราบพระ"
สอนคนให้มีอุปทาน ทำบุญทำทานเพื่อหวังสวรรค์วิมาน
พระพุทธองค์สอนให้คนรู้จักให้ทาน ก็เพื่อให้คนนั้นหมดความตระหนี่
เมื่อหมดความตระหนี่ ก็จะหมดความโลภ
เมื่อหมดความโลภ ก็จะหมดความเห็นแก่ตัว
เมื่อหมดความเห็นแก่ตัว ก็จะหมดเรื่องอัตตา
จะเข้าถึงธรรมะที่ไม่ยึดเกาะเกี่ยวติดแน่นอยู่กับสิ่งใดๆในโลก
ซึ่งล้วนเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเราทั้งสิ้น
การหมดอุปทานก็จะทำให้ถึงพระนิพพาน
- คู่มือดูพระ พุทธทาสภิกขุ)
สำหรับผู้ที่แสดงธรรมไม่ได้ พิมพ์หนังสือธรรมมะแจกเป็นทาน
,เป็นเจ้าภาพผู้ปฏิบัติธรรม
,หรือให้ทุนการศึกษา พระ,เณร
ก็น่าจะนับว่าเป็นการให้ธรรมทานแก่ผู้อื่น
# การทํากรรมใดๆ ก็ตาม จะต้องพิจารณาให้ รอบคอบเสียก่อน
=======================================
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
“นิสมฺม กรณํ เสยฺโย”
ใคร่ครวญเสียก่อนจึงทํา
เช่น เลือกผู้รับที่บริสุทธิ์ ไม่ตกเป็นเครื่องมือ กลายเป็นทำบุญติดปาป เป็นต้น
แบบฝึกหัด
========
- มูลค่าของสิ่งของที่ให้ เกี่ยวพันกับอานิสงส์ของทานหรือไม่
- ข้อใดต่อไปนี้จัดเป็นบุญ(ทาน)
สวดมนต์, ฝังลูกนิมิตร, เข้าร่วมพิธีสวดภาณยักษ์, ปิดทององค์พระพุทธรูป
เอาข้าวปลาอาหารไปถวายพระพุทธรูป,
เอาดอกไม้ธูปเทียนไปบูชาพระพุทธ, ไปงานบวช
การบูชา ไม่ได้บุญ
==============
แต่เป็นมงคลชีวิต (ทางแห่งความเจริญ ในหัวข้อ "บูชาบุคคลที่ควรเคารพบูชา")
การบูชาต่อพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่า
"การปฏิบัติบูชา" เป็นการบูชาที่เลิศ ที่ประเสริฐ
คือ นำคำสั่งสอนของพระองค์ท่านมาประพฤติปฏิบัติ จึงจะเป็นบูญ
(อันได้แก่ ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม หมั่นทำจิตของตนให้ขาวรอบ)
No comments:
Post a Comment