Tuesday, August 24, 2010

ตัณหา

เคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่า มีแรงผลักพุ่งขึ้นมาในในเรา
ผลักให้เราเดินไปโทรศัพท์หาเพื่อนเวลาเหงา ไปเปิดทีวีดู ออกไปข้างนอก
เจ้าความรู้สึกโหยๆ กระวนกระวายลึกๆ ความเร่าร้อนเบาบางในใจที่มีอยู่ตลอดเวลานี้เอง
เป็นแรงผลักที่ทำให้เราพูด ทำ คิดอะไรอยู่ตลอดเวลา


ตอนเราเป็นเด็กเล็กๆ แรงผลักในใจก็ดันให้เราหาขวดนม หาคนกอด หาตุ๊กตาหรือของเล่น
เพื่อให้รู้สึกมั่นคงและอบอุ่น
พอโตขึ้นแรงผลักเหล่านี้ก็ยังอยู่เหมือนเดิม แต่รายละเอียดเปลี่ยนแปลงไปตามวัย

ของเล่นอันเล็กอาจกลายเป้นรถยนต์คันสวย
เป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ
เราวิ่งหาเงิน สร้างบ้าน ซื้อรถ สะสมอำนาจเกียรติยศ
ไขว่คว้าหาความรักและหาคนแวดล้อม
ด้วยความหวังว่าใจเราจะอิ่มเต็มเมื่อได้สิ่งที่ถูกใจมาครอบครอง
แต่ความสุขทั้งหลาย ไม่เคยอยู่กับเราได้นาน
มีความสุขอยู่ได้ไม่นาน ความทุกข์ ความขุ่นมัว ความเครียด กังวลใจ ความวุ่นวายต่างๆ
ก็วกกลับมาอีก


ไม่ว่าจะหาอะไรๆ มามากมายสักเพียงไหน หลุมในใจทั้งหลายดูเหมือนจะไม่มีวันเต็ม
เราไม่เคยอิ่ม จนกว่าเราจะสังเกตเห็นว่าต้นเหตุไฟที่ลุกไหม้ท่วมใจ มาจากไฟกองเล็กๆในใจเรานั่นเอง


ที่มา ต้นไฟ - เข็มทิศชีวิต

ดูไม้ท่อนนี้ซิ..... สั้นหรือยาว
สมมติว่า คุณอยากได้ไม้ที่ยาวกว่านี้..... ไม้ท่อนนี้มันก็สั้น
แต่ถ้าคุณอยากได้ไม้สั้นกว่านี้..... ไม้ท่อนนี้มันก็ยาว
หมายความว่า “ตัณหา” ของคุณต่างหาก
ที่ทำให้มีสั้น มียาว มีชั่ว มีทุกข์ มีสุข ขึ้นมา
- หลวงพ่อชา

ความสุขจากตัณหา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1) หลังจากทุกข์ ในการปรนเปรอตัณหา แล้วตัณหาจะให้ความสุขเป็นรางวัล
2) เมื่อรู้ทันตัณหา ดับตัณหา(ที่ไม่ดี) ก็จะสุขทันที


อุปาทาน - การยึดถือและตั้งขึ้นของคุณค่า ในวัตถุ บุคคล (ลาภ) ในฐานะความเป็นต่างๆ (ยศ, สรรเสริญ) ว่าจะเป็นสิ่งนำมาซึ่งความสุข

ตัณหา - เกิดความทะยานอยากในคุณค่านั้นๆ

ถ้าเป็นอารมณ์ที่ชอบใจ (อิฏฐารามณ์) ก็เกิดเป็น
กามตัณหา - ความทะยานอยากในกามคุณหรือวัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
กามราคะ - ความกำหนัด อยากได้ ติดใจในกาม
ภวตัณหา - ความทะยานอยากในภพ ในฐานะ ความมี ความเป็น อันจะเอื้อให้ได้ง่ายซึ่งวัตถุกาม อันเป็นปรารถนา
ภวราคะ - ความกำหนัด ติดใจ ปรารถนาในภพ, อยากเป็น, อยากยิ่งใหญ่, อยากยั่งยืน
รูปราคะ - ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ
อรูปราคะ - ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ

ถ้าเป็นอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ (อนิฏฐารามณ์) ก็เกิดเป็น
วิภวตัณหา - ความทะยานอยากในวิภพ, ความอยากพรากพันแห่งตัวตน จากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา, อยากทำลาย, อยากให้ดับสูญ

ที่มา: บุญกิริยาวัตถุ ๓ โดยพระอาจารย์ภาสกร

วันนี้เราตามใจของตนเอง ด้วยอำนาจแห่งความอยาก
วันพรุ่งนี้ เราต้องหมดโอกาสที่จะสบายใจ

การวิ่งไปตามความอยาก คือการฆ่าตนเองด้วยความพอใจ

ที่มา fwd mail

ความอยากที่เป็นตัณหา ที่ท่านสอนว่าเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นสิ่งที่ควรกำจัดเสีย


ความอยากที่เป็นประโยชน์ เป็นความอยากทำ ไม่ถือว่าเป็นกิเลส
(ความอยากได้ผลของการกระทำ คือ กิเลส เป็นเหตุให้เราต้องทุกข์)

การอยากทำความดี (ไม่เป็นกิเลส) ขอให้ทำมากๆ

ที่มา ชาวพุทธ หรือ ชาวพูด
รวมคติธรรม ของ ท่านพระอาจารย์ชยสาโร

No comments:

Post a Comment