พระ พุทธพจน์แทบทั้งหมดมุ่งแสดงหลักปฏิบัติ... แม้บางครั้งจะตรัสเล่าถึงพระพุทธประวัติ ก็ทรงยกมาเพื่อเป็นอุทาหรณ์ในการแสดงธรรม เพื่อความพ้นทุก์เป็นเกณฑ์ เพราะพุทธศาสนาไม่เน้นให้ยึดเอาพระะศาสดาเป็นแกนกลาง เพื่อสอนให้เกิดความสยบยอมกับศาสดา ดังกับว่าพระศาสดาทรงฤทธาศักดานุภาพทุกประการ อาจดลบันดาลอะไรๆ ใหเกิดขึ้นกับศาสนิกนิกรได้..
..ในบรรดาคำสอนที่ออกมาจากพระโอษฐ์ ไม่มีเรื่องที่เป็นพระพุทธประวัติอย่างต่อเนื่อง.. ถ้าพุทธบริษัทไปติดยึดในพุทธประวัติ ทำให้ติดยึดในตัวบุคคลได้ จะเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ แม้พุทธประวัติจะประกอบไปด้วยอภินิหาร ซึ่งเป็นไปได้ตามกฏของธรรมชาติ แต่ถ้าไปติดยึดในปาฏิหาริย์นั้นๆ ก็จะทำให้จิตใจไขว้เขวไปในทางไสยเวทวิทยาได้ง่าย
ด้วยเหตุดังกล่าว ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาขั้นต้น เช่นพระไตรปิฏก จึงไม่มีพุทธประวัติเป็นเรื่องเล่าต่างหากออกไปจนตลอดอย่างประวัติของบุคคล สำคัญ หรือขององค์ศาสดาผู้เป็นต้นตอของศาสนาเอาเลย...
ต่อมาภายหลัง อีกหลายร้อยปี กวีในแวดวงของพุทธบริษัท เห็นควรรจนาพระพุทธประวัติใหวิเศษพิสดารด้วยกวีโวหาร อย่างใช้ภาษาคนอธิบายภาษาธรรม จึงเกิดพุทธประวัติขึ้น จากทางฝ่ายมหายาน ซึ่งมุ่งทางความโอฬาริกแห่งพระพุทธคุณยิ่งกว่าทางฝ่ายเถรวาท.. ซึ่งมุ่งทางธรรมาธิษฐานยิ่งกว่าบุคลาธิษฐาน
..เป็นภาษาไทยเล่มแรกคือ พุทธจริต ซึ่งพระภิกษุอัศวโฆษ..ได้ประพันธ์ขึ้น
ที่มา : คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่
No comments:
Post a Comment