หลักสูตรพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
พระอภิธรรมที่นำมาเป็นหลักสูตรในการศึกษาทางไปรษณีย์นี้ เป็นฉบับย่อ
ที่มีชื่อว่า " อภิธัมมัตถสังคหะ"
ซึ่งพระอนุรุทธาจารย์ พระเถระชาวอินเดียผู้มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก
ได้พยายามย่อให้สั้นและแยกแยะลำดับเรื่อง เพื่อให้ง่ายแก่การศึกษาไว้เมื่อปี พ.ศ. ๑๒๐๐
เนื้อหาของหลักสูตรพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
เป็นการสรุปสาระสำคัญของคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
โดยใช้ภาษาง่ายๆ และมีเนื้อหาไม่พิสดารจนเกินไป
เพื่อให้นักศึกษาทางไปรษณีย์สามารถที่จะทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง
เอกสารประกอบการศึกษามีทั้งหมด 10 ชุด แต่ละชุดมีเนื้อหาโดยสังเขปดังนี้ :-
* ชุด ที่ 1 แสดงเรื่อง พระอภิธรรมคืออะไร, ประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรม, ความหมายของปรมัตถธรรมและบัญญัติธรรม และสาระน่ารู้อื่นๆ เกี่ยวกับพระอภิธรรม
* ชุดที่ 2 แสดงเรื่องชีวิตคืออะไร, องค์ประกอบของชีวิต, ขันธ์ 5, รูปกับนาม, จิตกับอารมณ์, ลักษณะของจิตและการทำงานของจิต, บุญบาปเกิดขึ้นได้อย่างไร, ที่เกิดของจิตและอำนาจจิต
* ชุดที่ 3 แสดงเรื่องจิตประเภทต่างๆ, หน้าที่ของจิต 14 ประการ และวิถีจิต
* ชุดที่ 4 แสดงเรื่องธรรมชาติที่ประกอบปรุงแต่งจิต (เจตสิก)
* ชุดที่ 5 แสดงรูปที่เป็นองค์ประกอบของร่างกายโดยละเอียด (รูปปรมัตถ์) และความรู้เรื่องนิพพาน
* ชุดที่ 6 แสดงเรื่องชีวิตมาจากไหน, ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ และเกี่ยวกับภพภูมิต่างๆ ทั้ง 31 ภูมิ
* ชุดที่ 7 แสดงเรื่องกรรมประเภทต่างๆ และการให้ผลของกรรม
* ชุด ที่ 8 แสดงเรื่องอกุศลกรรม 9, มิสสกสังคหะ 7, โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ซึ่งประกอบด้วย สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรค 8, สรรพสังคหะ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องของขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อริยสัจ 4 และธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยในการเวียนว่ายตายเกิด (ปฏิจจสมุปบาท)
* ชุดที่ 9 แสดงเรื่องสมถกรรมฐาน (การทำสมาธิ) ทั้ง 40 วิธี, รูปฌาณ,อรูปฌาณ และอภิญญา
* ชุดที่ 10 แสดงเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน, วิสุทธิ 7, วิปัสสนาญาณ 16 และความหมายของมรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1
นักศึกษาที่ตอบคำถามครบถ้วนตามหลักสูตร (ทั้ง 10 ชุด) จะได้รับวุฒิบัตร '' พระอภิธัมมัตถสังคหะทางไปรษณีย์ ''
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรม
......
6) การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนา ซึ่งต้องมี
นามธรรม (จิต+เจตสิก )และรูปธรรม (รูป) เป็นอารมณ์ เมื่อกำหนด อารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐานได้ถูกต้อง การปฏิบัติก็ย่อมได้ผล ตามที่ต้องการ
No comments:
Post a Comment