Sunday, August 15, 2010

มาเจริญสติกันดีกว่า

เจริญสติทำไม
=========
- สร้างบุญใหญ่ (ใหญ่ที่สุด เหนือบุญใดๆ เช่น ทาน ศีล)

- เป็นการบูชาต่อพระพุทธเจ้า
(พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่าการปฏิบัติบูชาเป็นการบูชาที่เลิศ ที่ประเสริฐ
ถ้ามีแต่อามิสบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน แต่ไม่มีปฏิบัติบูชา
ผลอันดีเลิศ อันประเสริฐ ที่จะเกิดขึ้นจากการบูชา ก็จะไม่ปรากฏขึ้น
เพราะหัวใจของการบูชาอยู่ที่การปฏิบัติ)
(พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ประกาศศาสนา ก็เพื่อสัตว์โลกทั้งหลายพ้นทุกข์
ควรบูชาพระองค์ด้วยการทะนุบำรุง
ด้วยการปฏิบัติ เป็นแบบอย่างให้กับอนุชนรุ่นหลัง
เพื่อสืบทอดให้พระศาสนามีชีวิตยืนยาวต่อไป)

- อานิสงส์ของการเจริญสติ จะทำให้สวย ทำให้รวย ทำให้มีเสน่ห์

- สุขภาพกายดี (รวมถึง หายจากโรคร้ายที่มีสาเหตุจากเวรกรรม)

- ปลอดภัยในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ
"ธรรมย่อมรักษาผู้ที่ประพฤติธรรม" <- คำกล่าวของพระุพุทธเจ้า

- สร้างภูมิต้านทานความทุกข์ (สุขภาพจิตดี)

- พัฒนาศักยภาพใ้ห้กลายเป็นคนที่มีสติในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

- ถ้าแผ่ส่วนบุญใหญ่นี้ให้กับสรรพสัตว์ด้วย, จะเป็นที่รักของเทวดา มาร พรหม
เทวดา พรหม มาตอบแทนบุญที่ท่านได้รับ โดยมาคุ้มครองให้เราปลอดภัย
(ถ้าว่างแล้ว ถึงจะไปช่วย พวกที่ไม่ได้ปฏิบัติ เอาแต่ขอ
บุญเราไม่เคยสร้าง ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า - สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี)
มารหรือ เจ้ากรรมนายเวร ปลดหนี้กรรมที่เคยจองเวรไว้

เป็นการแก้กรรม (ถ้าแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรด้วย, ถือเป็นการใช้หนี้ที่เคยก่อไว้)
รับรองผลโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่งด้าน"กฏแห่งกรรม" (พระพุทธเจ้า)
*เป็นชาวพุทธอย่าไปเชื่อคำพระปลอม มากกว่าพระพุทธเจ้านะ

- หมั่นเพียรทำเป็นประจำแล้ว จิตที่เคยชินกับกุศลจากการภาวนา
จะนำไปเกิดในภพภูมิที่ดี เช่น มนุษย์ เทวดา พรหม ได้
พระพุทธเจ้าบอกว่า "ธรรมดาของจิตจะไหลลงต่ำ เผลอแว๊บเดียวก็ลงต่ำ
เมื่อไปเกินในทุกขคติ เช่น เดรัชฉานแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็แสนยาก"

ไม่เชื่อ ไม่ทำ ถ้าหลุดไปต่ำแล้วไม่คุ้ม !!!

(ดูตัวอย่างกรณีศึกษาของ "หูตั้ง" ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=9HTu207mvxY )

- สะสมที่เคยฝึกเจริญสติไว้แล้ว เอาไปฝึกเจริญสติ ต่อในชาติถัดๆไปได้
(เมื่อน้อมจิตให้ไหลอยู่ในกระแสกุศลเนืองๆ จะทำให้
โวฎฐัพพนจิตตัดสินให้มหากุศลจิตเกิดบ่อยๆ กลายเป็นอนุสัย)
(หากจิตมีความเข้าใจสภาวธรรมใดชัดเจนแล้ว เมื่อสภาวะธรรมนั้นปรากฏ
โวฎฐัพพนจิตก็จะเป็นปัจจัยให้สติเกิด โดยไม่ต้องจงใจทำขึ้นมา)
(ภาษาพระเรียก อริยทรัพย์
ต่างจาก โลกียทรัพย์ เช่น เงิน ทอง บ้าน ที่ตายแล้วเอาไปชาติิถัดๆไปไม่ได้)

- เมื่อมีสะเบียงธรรมแล้ว + ตั้งจิตอธิษฐานด้วย,
กุศลที่สะสมไว้จะนำพาไปเกิดในที่ที่ปรารถนาได้
เช่น ขอให้ไปเกิดในที่ที่ไม่ยากแค้น เช่น เอธิโอเปีย
เกิดในครอบครัวที่มีสัมมาทิฏฐิ มั่นคงในพุทธศาสนาที่แท้จริง เป็นต้น

- บั้นปลายในวัฎสงสารดี (นิพพาน)
(ถ้าสังเกตสภาวธรรมบ่อยๆ มหากุศลจิตที่เกิดขึ้นจะประกอบด้วยปัญญา
สามารถรู้รูปนามตรงตามความเป็นจริงได้บ่อยๆ จนเกิดความรู้จริง รู้แจ้ง จิตจะปล่อยวางรูปนามในที่สุด)

สรุปว่า
--------
"ทำง่าย ได้มาก
ยิ่งทำ ยิ่งสุข
การลงทุนที่สุดคุ้ม ไม่มีขาดทุน"
มาเป็นนักลงทุนด้วยกันนะครับ


สนใจจะเริ่มต้นปฏิบัติทำยังไงดี
===================
1. เลือกครูบาอาจารย์
ดูพระให้เป็น หลายรูปเป็น "มหาโจรผู้ปล้นมหาชน" สอนแต่ให้ทำทาน
ยิ่งเป็นศิษย์นาน ยิ่งหมดเนื้อหมดตัว
เบียนเบียนตัวเอง และคนรอบข้าง

พึงระวัง สำนักไหนๆก็อ้างว่าเป็น วิปัสสนา เจริญมหาสติปัฎฐาน ทั้งนั้น
มีคำอธิบายดีๆให้กับแนวทางของตนทั้งนั้น

พระไตรปิฏก ที่เป็นคำสอนหลัก ก็เป็นภาษาบาลี
เมื่อแปลเป็นไทย ย่อมมีความคลาดเคลื่อนไม่มากก็น้อย
คำที่ใช้แทนบาลี บางครั้งมีความกำกวม บางคำความหมายผิดเพี้ยนไป
(ตรงข้ามเลยก็มี เช่น อาวุโส ถ้าบาลี จะหมายถึงอ่อน พอเป็นไทย หมายถึงแก่)
ผู้แปลบางท่าน แก่เรียน แต่ไม่เคยปฎิบัติ เมื่อแปลแนวทางปฏิบัติ
มีการอธิบาย ยกตัวอย่าง ตามความเข้าใจของผู้แปล
ทั้งเมื่อนำมาขยายความโดยครูบาอาจารย์ ต่อๆกัน ก็ผิดเพี้ยนไปเรื่อยๆ

อย่าเชื่อสมมุติสงฆ์(ผู้ที่หัดเดินอยู่) มากกว่าคำสอนของอริยสงฆ์ (ผู้ที่เดินจนชำนาญ และถึงปลายทางแล้ว)
ดังนั้น หมั่นเตือนตนให้ ใช้ปัญญา (อย่าใช้ศรัทธา) นำชีวิต

2. ศึกษาให้รู้ว่าต้องปฏิบัติยังไงถึงจะถูกต้อง (ไม่หลงทาง)
จับแก่นให้ได้ จับให้ถูก (อย่าเอาเปลือก มาเป็นแก่น)

ทำบุญ จะได้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(เช่น สวดมนต์ เป็นนกแก้วพูดจ้อยๆๆ หรือเวียนเทียน
แล้วก็ คิดเอาเอง ฝันเอาเองว่าได้บุญแล้ว
การกระทำที่เป็นบุญตามคำสอนของพระพุทธเจ้า มี 3 อย่างเท่านั้น คือ ทาน ศีล และภาวนา
สวดมนต์ เป็นเพียงอุบายในการภาวนา + ภาวนากันผิดแทบทั้งนั้น ก็เลยไม่เกิดบุญ)

(เรื่องทานก็เช่นกัน ตักบาตรมาทั้งชีวิตแต่ได้บุญน้อย เพราะตักไม่เป็น
วิธีทำทานที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะเป็นอย่างไรไปที่
http://siripong-buddhism.blogspot.com/2010/08/dana.html)

3. ปฏิบัติให้เป็น
ต้องการจะปฏิบัติให้เป็นต้อง "ทฤษฏี ควบคู่กับ ปฏิบัติ"
ฟังบรรยายสอนว่ายน้ำ แล้วไม่ลงน้ำไปหัดตีขา -> 10 ปี ก็ว่ายไม่เป็น

4. เพียรปฏิบัติ
เพียรทำกิจใดๆ (กิจวัตรประจำวันหรือทำงานต่างๆ) ด้วยความรู้ตัว


ที่มาของภาพ: คู่มืออุบาสก อุบาสิกา

เนื่องจาก คนส่วนมาก เข้าใจการรู้ตัวคลาดเคลื่อน
เข้าใจผิด คิดว่า "มีความรู้ตัว" (เนื่องจากขาดความรู้)

ผู้เขียน ศึกษาและสรุป อธิบายย่อๆ ให้เข้าใจง่ายๆ
ถึง "ความรู้ตัว" ว่าเป็นอย่างไร !!! และ วิธีในการเจริญสติ ไว้ที่
http://siripong-buddhism.blogspot.com/2010/09/my-brief-vipassana-bhavana.html

No comments:

Post a Comment