Thursday, September 16, 2010

สมถกรรมฐาน (draft)

สติ = การระลึกได้/การระลึกรู้
สมาธิ = ความตั้งมั่น (ไม่ใช่ ความสงบ)


เช่น มีสมาธิอยู่กับการเล่นดนตรี คือ
มีความตั้งมั่นอยู่กับดนตรีที่ำกำลังเล่น ไม่วอกแวกไปคิดเรื่องอื่นอยู่

เป้าหมายในการนั่งสมาธิ
================
การนั่งสมาธิ เรานั่งเพื่อฝึกให้จิต จดจ่อตั้งมั่นอยู่กับเรื่องๆเดียว
เมื่อจิตวอกแวกไป (สติที่กำกับอยู่)
ก็ย้ายให้จิตกลับมาเรื่องที่กำหนดขึ้น
หรือเปล่า?
(ให้จิตสงบ ให้เกิดความสงบของจิต ไม่วอกแวกไปไหน
ไม่ใช่เพื่อให้ได้ความสงบ ความนิ่ง ความเงียบ)

ถ้านั่งแล้วหลับ -> สมาธิ เกิน สัมปชัญญะ


*****************************************************************
วิถีแห่งความรู้แจ้ง + ประทีปส่องธรรม บรรยายไว้ว่า

มิจฉาสมาธิ
======
เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าไม่ประกอบด้วยความรู้ตัว เช่น
1) เพ่ง หรือ กล่อมจิตให้เคลื่อนเคลิ้มเข้าไปเกาะอารมณ์อันเดียว
กดข่มจิต จนรู้สึกหนักๆแน่นๆ แข็งทื่อ
เป็นสมาธิที่ประกอบด้วยโมหะกับโทสะ
(จิตชนิดนี้จะใช้เจริญสติปัฏฐานไม่ได้จริง)

2) ลืมเนื้อลืมตัว เพลิดเพลินในความสบาย หรือเห็นสิ่งต่างๆ
เป็นสมาธิที่ประกอบด้วยโมหะกับโลภะ

*ทั้งคู่ไม่ใช่กุศลจิต

สัมมาสมาธิ
======
มีสติระลึกรู้อารมณ์อันเดียวไปอย่างสบายๆ
โดยมีความรู้ตัว (ไม่เผลอ ไม่เพ่ง)
แค่จิตระลึกรู้อารมณ์อันเดียวอย่างสบายๆ เป็นธรรมเอก

จิตจะมีสัมปชัญญะรู้ตัว ไม่เป็นทาสของอารมณ์
จึงเห็นความเกิดดับของอารมณ์ชัดเจนตามความเป็นจริงได้


*****************************************************************
ดูจิตดูใจเรา คล้ายๆ กับว่า จิตมันวางเป็นปกติ
ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติ เช่น มันคิดมันนึกต่างๆ นั่นเป็นสังขาร
สังขารนี้มันจะปรุงเราต่อไป ระวังให้ดี ให้มันรู้ไว้
ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติแล้ว ไม่เป็นสัมมาปฏิปทาหรอก

อาตมาเห็นว่าจิตนี้เหมือนกับจุดๆ เดียวเท่านั้น
อันที่เรียกว่าเจตสิกนั่นเป็นแขก แขกมาพักอยู่ตรงนี้
คนนั้นมาเยี่ยมเราบ้าง คนโน้นมาเยี่ยมเราบ้าง มาพักอยู่ตรงนี้
เราจึงเรียกพวกนั้น ที่ออกจากจิตของเรามา เป็นเจตสิกหมด

ทีนี้เรา มาทำจิตของเราให้เป็นผู้รู้ ตื่นอยู่
คอยรักษาจิตของเราอยู่
ถ้าแขกมาเมื่อไหร่ โบกมือห้าม มันจะมานั่งที่ไหน มีที่นั่งที่เดียวเท่านั้น
เราก็พยายามรับแขกอยู่ตรงนี้ตลอดวัน


พูดถึงอาคันตุกะ แขกที่จรมาปรุงมาแต่งต่างๆ นานา ให้เราเป็นไปตามเรื่องของมัน
อาการของจิตที่เป็นไปตามเรื่องของมันนี่ แหละเรียกว่า เจตสิก

มันจะเป็นอะไร จะไปไหนก็ช่างมัน
ให้เรารู้จักอาคันตุกะที่มาพัก
ที่รักแขกมีเก้าอี้ตัวเดียวเท่านั้นเอง
เราเอาผู้หนึ่งไปนั่งไว้แล้ว มันก็ไม่มีที่นั่ง
มันมาที่นี่ มันก็จะมาพูดกับเรา ครั้งนี้ไม่ได้นั่ง ครั้งต่อไปก็จะมาอีก
มาเมื่อไหร่ก็พบแต่ผู้นี้นั่งอยู่ ไม่หนีสักที มันจะทนมากี่ครั้ง

ที่มา กุญแจภาวนา
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

เมื่อมีผู้ถามถึงฐานของลม
หลวงพ่อชาตอบว่า อะไรที่มันมีสติอยู่ไม่ขาดกัน รู้สึกอย่างติดต่อกัน
เอาจุดไหนก็ได้ที่มีความรู้ติดต่อกัน ที่มันมีสติสัมปชัญญะ ...
สติ คือ ความระลึกได้
สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว

ที่มา : รวมพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อชา ฉบับธรรมานุสสติ

No comments:

Post a Comment