Saturday, September 18, 2010

ความแตกต่างของสมถะกับวิปัสสนา

สมถกรรมฐาน (นิ่งทั้งใน นิ่งทั้งนอก) :
ฝึกได้หลายวิธี เช่น เดินปราณ เพ่งกสิณ ปริกรรมพุทโธ เพ่งลูกแก้วเหนือสะดือ
ผลจากการฝึก -> ได้บุญ + ได้ความสงบ
เมื่อจิตสงบ รวมเป็นหนึ่ง จะมีกำลังของจิต แสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆได้
(เช่น เหาะไปในอากาศ เดินบนผิวน้ำ เนรมิตกายเป็นหลายคน เนรมิตกายให้มีรูปร่างตามต้องการ)
สุงสูดของการเจริญสมถกรรมฐาน คือได้ไปเกิดในชั้น อรูปพรหม
เมื่อครบวาระ ก็เวียนว่ายตายเกิดต่อไป ตามผลกรรมที่เคยทำไว้
(เช่น เป็นมนุษย์ เปรต สัตว์นรก ฯลฯ)

ครั้งหนึ่ง ขณะที่พระพุทธเจ้าออกบิณฑบาท ทรงทอดพระเนตรเห็นหมูแม่ลูกอ่อน นอนให้ลูกกินนมอยู่ข้างทาง ทรงแย้มพระโอษฐ์(ยิ้ม)
พระอานนท์เห็นจึงทูลถามว่า "พระองค์ทรงยิ้มมีเหตุอะไรหรือพระเจ้าข้า"
พระพุทธองค์ทรงตอบว่า "อานนท์ หมูแม่ลูกอ่อนตัวนี้เคยเกิดเป็นถึงลูกกษัตริย์
ได้เจริญสมถกรรมฐาน ได้ปฐมฌาน เมื่อตายไปแล้วได้เกิดในพรหมโลกอยู่ตั้งช้านาน
ยังเวียนว่ายกลับมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งเป็นอบายภูมิได้อีก"


- คุณแม่สิริ กรินชัย


วิปัสสนากรรมฐาน (ไม่ไหล แต่ไม่นิ่ง) :
- ทำแล้วได้บุญเหมือนกันกับสมถกรรมฐาน
- เมื่อเจริญแล้ว จิตจะเรียนรู้ว่า ขันธ์ ๕
{อันได้แก่ กาย เวทนา สัญญา (ความจำ) สังขาร (ความคิด) วิญญาณ} ไม่ใช่ตัวตน
เมื่อสิ้นวิบากขันธ์ จิตจะฉลาด ไม่แสวงหา กาย ใหม่ เพื่อที่จะไปเกิดอีก (นิพพาน)

การจะให้จิตรู้ความจริงดังกล่าว ไม่ใช่การละในระดับความคิด
(เช่น ท่องหรือคิดว่า ร่างกายเป็นเพียงธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประกอบกัน , หรือ ปลงสังขาร ไม่ใช่ตัวตน)
แต่ต้องให้จิตเรียนรู้เอง ด้วยวิชาของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า วิปัสสนา

เมื่อเจริญวิปัสสนา ถึงจุดหนึ่งแล้ว จะได้โสดาบันผล นำให้ไปเกิดใหม่อีกไม่เกิน 7 ชาติ, แล้วนิพพาน
ต่ำสุด คือ มนุษย์ (ไม่ไปเกิดใน ทุกขคติภูมิ คือ เดรัชฉาน, เปรต, อสูรกาย, นรก)

ผู้ที่เดินทางสายนี้ได้แก่
- หลวงปู่มั่น, หลวงปู่แหวน, หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง, เจ้าคุณโชดก วัดมหาธาตุ
- หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน
- หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
- หลวงพ่อวิริยัง วัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
- คุณแม่สิริ กรินชัย

ระยะเวลาในการฝึกเพื่อบรรลุผล :
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อตั้งใ + ความเพียรที่เหมาะสม + ถูกแนวทาง แล้ว
ไม่เกิน 7 วัน, 7เดือน หรืออย่างช้าสุดไม่เกิน 7 ปี

วิธีการ:
ง่ายสำหรับผู้ปฏิบัติ ยากสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติ – พระราชวุฒาจารย์
( see http://siripong-buddhism.blogspot.com/2010/09/my-brief-vipassana-bhavana.html )

No comments:

Post a Comment