Saturday, October 2, 2010

ใครเป็นใคร

พระ = ประเสริฐ
ภิกษุ = ผู้เห็นภัยในวัฎฎสงสาร

สงฆ์ (ในภาษาบาลี) แปลว่า หมู่
เช่น ในคำว่าภิกษุสงฆ์ แปลว่า หมู่ภิกษุ
ใช้ในความหมายว่า ภิกษุทั้งปวงก็ได้ เช่น"จีวรนี้เป็นของสงฆ์"
ตามพระวินัย ภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปจึงเรียกว่า สงฆ์
เช่นในคำว่า สังฆกรรม (กรรมที่สงฆ์ คือภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปพึงทำรวมกัน)

คำว่า สมภาร มาจากคำว่า สํ แปลว่า ร่วม กับคำว่า ภาร แปลว่า สิ่งที่หนัก สิ่งที่ต้องแบกรับไว้ร่วมกัน
ในภาษาไทย คำว่า สมภารมี ๒ ความหมาย คือ
๑. หมายถึงบุญบารมีหรือบุญญาธิการที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างสมไว้ เรียกว่า พระบรมโพธิสมภาร หรือที่พระสงฆ์ใช้เรียกพระมหากษัตริย์ว่า พระราชสมภารเจ้า สมเด็จมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า เป็นต้น
๒. เป็นคำที่ใช้เรียกพระสงฆ์ผู้มีหน้าที่ปกครองวัด ดูแลความเป็นอยู่ของพระลูกวัด สามเณร และผู้ที่อาศัยอยู่ในวัดทั้งหมด
ให้ประพฤติถูกต้องตามหน้าที่ของแต่ละฝ่าย และดูแลให้วัดเป็นสถานที่สะอาด สงบ และร่มรื่น เป็นที่ที่จะจูงใจพุทธศาสนิกชนให้เลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา
คำว่า สมภาร ในความหมายนี้ปัจจุบันใช้เฉพาะในภาษาพูด ภาษาทางการใช้คำว่า เจ้าอาวาส

สมี = พระที่ทำผิดวินัยจนถูกจับสึก

อลัชชี ใช้เป็นคำเรียกนักบวชในศาสนา เช่น พระภิกษุผู้ประพฤตินอกรีตนอกรอยบทบัญญัติของศาสนา ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยโดยไม่ละอายใจ ไม่ละอายชาวโลก ไม่ใส่ใจถึงกฎระเบียบตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องใหญ่ เช่น ไม่สำรวมกายวาจา นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ชอบเล่นซุกซนเหมือนเด็กๆ ชอบปั้นน้ำเป็นตัว ดื่มสุราเมรัย เล่นการพนัน

อลัชชี นัยว่าเป็นคำด่าหรือคำรุนแรงสำหรับบรรพชิต ผู้ถูกเรียกเช่นนี้ถือว่าถูกด่าด้วยคำที่รุนแรง เหมือนชาวบ้านถูกด่าว่าเป็นคนหน้าด้านนั่นเทียว

ไวยาวัชกร
http://th.wikipedia.org/wiki/ไวยาวัจกร

พระนวกะ พระพรรษาน้อยๆ เช่น พระที่เพิ่งบวชใหม่
พระเถระ บวชมาแล้ว 10 ถึง 19 พรรษา
พระมหาเถระ บวชมาแล้ว 20 พรรษาขึ้นไป

ปริพาชก นักบวชนอกพุทธศาสนา
บรรพชิต หมายถึง พระภิกษุและสามเณร ผู้ปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
บรรพชิต หมายถึงนักบวช ในภาษาไทยปัจจุบันได้แก่ภิกษุและสามเณร
ซึ่งนิยมใช้เป็นคำตรงกันข้าม กับคำว่า ฆราวาสที่แปลว่าผู้ครองเรือน

มุนี

อาตมา แปลว่า ตัว, ตัวตน

อาตมา ในคำวัดใช้ในความหมาย ว่า ตัวฉัน ตัวข้าพเจ้า เป็นคำที่พระภิกษุสามเณรใช้เรียกแทนตัวเองเมื่อพูดกับชาวบ้านหรือผู้มี ฐานันดรศักดิ์ถือว่าเป็นคำสุภาพและให้เกียรติคู่สนทนา คำเต็มว่า อาตมภาพ แต่สองคำนี้มีความนิยมในการใช้แตกต่างกันบ้าง

อาตมา นิยมใช้ในภาษาพูดทั่วไป ไม่นิยมใช้ในภาษาหนังสือ
อาตมภาพ นิยมใช้ในภาษาหนังสือและนิยมใช้เมื่อสนทนากับผู้มีบรรดาศักดิ์ระดับสูง รวมถึงพระเจ้าแผ่นดิน
ที่มักพูดผิดเขียนผิดเป็นประจำคือใช้ว่า อาตมาภาพ แทน อาตมภาพ
อ้างอิง

ตถาคต - พระผู้ไปดีแล้ว (คือทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงแล้ว)

No comments:

Post a Comment