Monday, October 11, 2010

สภาวธรรม

ปรมัตถธรรม หรือสภาวธรรม มี ๒ อย่าง คือ
๑. รูป สภาวะแปรปรวนชัดเจน
๒. นาม สภาวะน้อมไปสู่อารมณ์ (รับอารมณ์เสมอ)

รูป หมายถึง สภาวะแปรปรวนได้ง่าย
รูปที่สมมุติว่าเป็นร่างกาย มักแปรปรวนเมื่อกระทบกับเหตุปัจจัยที่เป็นตรงกันข้าม
(เช่น ไปยืนกลางแดด จะรู้สึกตัวว่าร้อน อยู่ในห้องแอร์ รู้สึกเย็น,
ในเวลาหิวกระหาย ใบหน้าที่เคยอิ่มเอิบ ก็จะมีร่องรอยของความอิดโรย)

นาม หมายถึง สภาวะรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖
ที่จัดเป็น สภาวธรรมปัจจุบัน มี ๒ อย่าง คือ

๑) จิต สภาวะรู้อารมณ์ ๖
อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์ (มโนสัมผัส)
(นั่นคือ การเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น ลิ้มรส รู้สัมผัส และ นึกคิด)

๒) เจตสิก สภาวะที่เกิดร่วมกับจิต
อันได้แก่ ความรู้สึกรัก ชัง ดีใจ เสียใจ เป็นต้น
เจตสิกต่างๆ เหมือนสี ทำหน้าที่แสดงภาพให้ปรากฎ
จิตเหมือนน้ำ ทำหน้าที่ซึมซับให้สีติดอยู่กับแผ่นผ้า
อารมณ์ที่จิตกับเจตสิกรับรู้ เหมือนแผ่นผ้า


ที่มา : โพธิปักขิยธรรม โดย พระคันธสาราภิวงศ์

No comments:

Post a Comment